วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

การจำแนกปากใบพืช


การจำแนกปากใบพืชตามการเจริญเติบโตในสิ่งเเวดล้อมมี3ประเภท

1.ปากใบแบบธรรมดา (typical stomata) เป็นปากใบของพืชทั่วไปโดยมีเซลล์คุมอยู่ในระดับเดียวกับเซลล์เอพิเดอร์มิสพืชที่ปากใบเป็นแบบนี้เป็นพวกเจริญอยู่ในที่ ๆ มีน้ำอุดมสมบูรณ์พอสมควร (mesophyte) 



2.ปากใบแบบจม (sunken stomata) เป็นปากใบที่อยู่ลึกเข้าไปในเนื้อใบเซลล์คุมอยู่ลึกกว่าหรือต่ำกว่าชั้นเซลล์เอพิเดอร์มิสพบในพืชที่อยู่ในที่แห้งแล้ง (xerophyte) เช่น พืชทะเลทราย พวกกระบองเพชร พืชป่าชายเลน (halophyte) เช่น โกงกาง แสม ลำพู เป็นต้น




3.ปากใบแบบยกสูง (raised stomata) เป็นปากใบที่มีเซลล์คุมอยู่สูงกว่าระดับเอพิเดอร์มิสทั่วไป เพื่อช่วยให้น้ำระเหยออกจากปากใบได้เร็วขึ้นพบได้ในพืชที่เจริญอยู่ในน้ำที่ที่มีน้ำมากหรือชื้นแฉะ(hydrophyte)

ปัจจัยที่มีผลต่อการคายน้ำ

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคายน้ำของพืช

    อัตราการคายน้ำของพืชจะเกิดมากหรือน้อยนั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับการปิดเปิดของปากใบแล้ว ยังขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมอื่น ๆ อีกหลายประการ เช่น
            1. รังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ เมื่อใบได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอัตราการคายน้ำจะเพิ่มขึ้นทุก 10 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอัตราการคายน้ำจะเพิ่มขึ้นสองเท่า เพราะเมื่ออุณหภูมิใบสูงขึ้น ไอน้ำในใบและไอน้ำในบรรยากาศมีความแตกต่างกันมากขึ้น การคายน้ำก็จะเพิ่มมากตามไปด้วย ในพืชทั่ว ๆไปเมื่ออุณหภูมิเกิน 30 องศาเซลเซียสปากใบจะปิด
            2. ความชื้นในอากาศ ถ้าหากในบรรยากาศมีความชื้นน้อย เช่น หน้าแล้งหรือตอนกลางวัน ทำให้การคายน้ำเกิดได้มากและรวดเร็ว
            3. ลม ลมที่พัดผ่านใบไม้จะทำให้ความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลง ไอน้ำบริเวณปากใบจะแพร่ออกสู่อากาศได้มากขึ้น และขณะที่ลมเคลื่อนผ่านผิวใบจะนำความชื้นไปกับอากาศด้วย ไอน้ำจากปากใบก็จะแพร่ได้มากขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าลมพัดแรงเกินไปปากใบจะปิด
            4. ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ โดยทั่วไปปากใบเปิดเมื่อปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ภายในช่องว่างของใบลดลงกว่าจุดวิกฤต แต่เมื่อใบขาดความชื้นปากใบจะปิดไม่ว่าปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จะเป็นเช่นใด หมายความว่าพืชทนต่อการขาดคาร์บอนไดออกไซด์ได้นานกว่าการขาดน้ำ
        นอกจากนี้พืชบางชนิดยังมีการปรับโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพในการดูดน้ำโดยมีรากแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้าง หรือมีรากยาวหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น หญ้าแฝก พืชบางชนิดลำต้นและใบอวบน้ำ (Succunlent) เพื่อสะสมนํ้า เช่น ต้นกุหลาบหิน การปิดเปิดของปากใบจะแตกต่างจากพืชชนิดอื่น คือปากใบจะเปิดเวลากลางคืนและปิดในตอนกลางวันเพื่อลดการคายน้ำวามร้อนของดวงอาทิตย์ เมื่อใบได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เพิ่มขึ้นอัตราการคายน้ำจะเพิ่มขึ้นทุก 10 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้นอัตราการคายน้ำจะเพิ่มขึ้นสองเท่า เพราะเมื่ออุณหภูมิใบสูงขึ้น ไอน้ำในใบและไอน้ำในบรรยากาศมีความแตกต่างกันมากขึ้น การคายน้ำก็จะเพิ่มมากตามไปด้วย ในพืชทั่ว ๆไปเมื่ออุณหภูมิเกิน 30 องศาเซลเซียสปากใบจะปิด